วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 1 พฤษภาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


ความรู้ที่ได้รับ

*** สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน




*** สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 6 สาระ ดังนี้


*** การเขียนแผนการสอน ซึ่งมีแบบฟอร์มดังนี้


*** ได้ศึกษาค้นคว้างานวิจัย บทความ โทรทัศน์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
*** ได้ทราบถึงรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ - - - > แบบบูรณาการ
                                                                                           - - - > แบบโครงการ
                                                                                           - - - > แบบสมองเป็นฐาน
                                                                                           - - - > แบบ STEM
                                                                                           - - - > แบบมอนเตสซอรี่
                                                                                           - - - > แบบเดินเรื่อง (สตอรี่ไลน์)

ทักษะ

*** ทักษะ/เทคนิควิธีที่ได้รับ
1.เทคนิคการสอน
2.การเขียนมายแม๊ป
3.การใช้แผนภูมิกราฟฟิค
4.การแก้ปัญหา
5.การใช้สื่อในการสอน เช่น การใช้เพลง คำคล้องจอง เป็นต้น
6.ได้การเขียนแผนการสอน การสอนตามแผน และการทำสื่อการสอน

วิธีการสอน

- ใช้การระดมความคิด
- การตอบคำถาม
- เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย นิทาน
- การใช้แผนภูมกราฟฟิค

คุณธรรม จริยธรรม

1.มีความซื่อสัตย์สุจริต มีน้ำใจเอื้เฟื้อเผื่อแผ่
2.มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมาย
3.แต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามระเบียบมหาวิทยาลัย
4.มีมารยาท เคารพสิทธิของเพื่อนๆ มีความอดทนอดกลั้น มีความสามัคคี

ประเมิน

สภาพห้องเรียน

- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน ให้ความร่วมมือกับการแสดงความคิดเห็น

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ช่วยกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการเรียนในรายวิชานี้

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมาพร้อมทั้งเพิ่มเติมเนื้อหาสาระที่ขาดหายหรือตกหล่นไปและแจ้งกำหนดการส่งงาน การตรวจบล๊อค เป็นต้น



วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประจำวัน จันทร์ ที่ 27 เมษยน 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 (เรียนชดเชย)

ความรู้ที่ได้รับ

*** ข้อสรุปประเด็นสำคัญในการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย






ทักษะ

*** คิดวิเคราะห์ข้อสรุปประเด็นที่ได้รับมอบหมาย 12 ข้อ ซึ่งใช้ความรู้ของตนเองที่มีตามความเข้าใจ

วิธีการสอน

*** มอบหมายงานอย่างเหมาะสมในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ประเมิน

สภาพห้องเรียน

- เรียนนอกห้องเรียนตามอัธยาศัย

ตัวเอง

- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน ตั้งใจทำงานที่ได้รับหมอบหมาย

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจฟัง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ทำงานที่ได้รับหมอบหมาย

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี มีงานมอบหมายให้ทำได้เหมาะสม มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย



วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน พุธ ที่ 22 เมษายน 2558


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

ความรู้ที่ได้รับ

*** นำเสนอการสอนเป็นกลุ่มตามแผน
เรื่อง ดอกไม้

วิธีการสอน 
                   ให้เด็กร้องเพลงดอกไม้ ถามถึงชนิดของดอกไม้ในเพลง ครูเขียนแม๊ป ต่อมาถามความรู้เดิมของเด็กว่ารู้จักดอกไม้ชนิดอื่นหรือไม่นอกจากในเพลง หลังจากนั้นให้เด็กนับจำนวนดอกไม้ทั้งหมดพร้อมบอกชื่อและแยกประเภท โดยให้แยกดอกกุหลาบออกจากกลุ่มที่ไม่ใช่ดอกกุหลาบ ใช้การจับคู่ 1 ต่อ 1               ผลปรากฎว่าดอกกุหลาบหมดก่อนแสดงว่าดอกกุหลาบน้อยกว่าที่ไม่ใช่ดอกกุหลาบ หลังจากนั้นครูก็ทบทวนกับเด็กว่า วันนี้เราเรียนเรื่อง ดอกไม้ เด็กได้รู้จักชนิดของดอกไม้ ได้แก่ ดอกมะลิ  ดอกกุหลาบ ดอกทานตะวัน  และดอกพุทธซ้อน

                                                               เพลง ดอกไม้

                                                          ดอกไม้มีนานาพันธุ์

                                                      มะลิสีขาว กุหลาบสีแดง

                                                      ทานตะวันนั้นมีสีเหลือง

                                                      เด็กๆ ดูซิน่าชวนชมเอยๆ


*** ให้เพื่อน 1 คน ออกมาทดลองสอน คือ นางสาว เปมิกา  ชุติมาสวรรค์ ซึ่งครูให้ขนมมา 1 กล่อง แล้วให้เพื่อนสอนเรื่องคณิตศาสตร์เกี่ยวกับขนมในกล่อง  ซึ่งเพื่อนก็ได้ทำการสอนโดยใช้คำถาม ถามว่า " เด็กๆเห็นขนมในกล่องนี้มีกี่ชิ้นค่ะ " จากนั้นเด็กตอบกลับมา เพื่อนก็พิสูจน์โดยการนับขนมในกล่องออกมาทีละ 1 ชิ้น ซึ่งเพื่อนก็ได้วางขนมเรียงต่อกันแถวละ 10 ชิ้น ซึ่งการสอนแบบนี้ทำให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับ และรู้จักเลขฐานสิบอีกด้วยจากนั้นก็สรุปว่ามีขนมอยู่ทั้งหมดกี่ชิ้นพร้อมกับเสริมแรงโดยให้รางวัลเด็กๆทุกคนด้วยการกินขนมกล่องนั้น

*** วิธีการประเมิน
       - การสังเกต
       - การสัมภาษณ์
       - การสนทนา
       - การทดสอบ
       - ผลงาน
ซึ่งวิธีการประเมินที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย คือ ผลงานและการสนทนา

 ***เทคนิคการสอนเด็กให้เรียนรู้แบบต่อเนื่อง คือ การสารสัมพันธ์กับผู้ปกครอง


ทักษะ

***   1. ร่วมวิเคราะห์ข้อคำถามกับเพื่อน
         2. เพิ่มเติมเนื้อหาเพลง ดอกไม้ และร่วมร้องเพลง
         3. คิดวิเคราะห์ข้อคำคามของอาจารย์ผู้สอน
         4. แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ได้จากการเรียน

วิธีการสอน

***ใช้การยกตัวอย่าง
       การแนะนำเพิ่มเติม
       ใช้คำถาม
       ใช้การระดมความคิด
       ใช้เพลง

ประเมิน

สภาพห้องเรียน

- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆทุกคน

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ช่วยกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการสอนของเพื่อนๆในการสอนเป็นกลุ่ม

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย




วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

ประจำวัน พุธ ที่ 8 เมษายน 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

ความรู้ที่ได้รับ
*-* นำเสนอการสอนตามการเขียนแผนเป็นกลุ่ม

*-* เพลง
         1.เพลง กล้วย
กล้วยคือผลไม้ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วยกินกล้วยมีวิตามิน
กล้วยส้มกล้วยหอมกล้วยไข่
ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า
ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า
ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย

        2.เพลง  แตงโม
แตงโม แตงโม แตงโม
โอโฮ้ แตงโม ลูกใหญ่
เนื้อแดง เรียกว่า จินตรา
เนื้อเหลืองนี่หนา เรียกว่า น้ำผึ้ง

       3. เพลง ไก่กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ ไก่ ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่ชนเดินมาแล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ ไก่ ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่แจ๊เดินมา แล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก

       4. เพลง สุนัข
บ๊อกๆๆๆๆ บ๊อกเป็นเสียงของน้องหมา

เด็กๆรู้มั้ยหน้าตา (ซ้ำ) ของน้องหมานั้นน่ารักดี

 หมามีหลายชนิด   ไหนลองคิดๆช่วยกันสิ

เด็กๆช่วยตอบครูที (ซ้ำ) ชนิดน้องหมานี้นั้นมีอะไร

เช่นโกเด้น บางแก้ว ชิวาๆ พุดเดิ้น บรู๊ๆ

ทักษะ
*-* นำเสนอการสอนตามแผนการสอนที่เขียนไว้สัปดาห์ที่แล้ว
กลุ่มที่ 1 เรื่อง กล้วย
กลุ่มที่ 2 เรื่อง แตงโม
กลุ่มที่ 3 เรื่อง สุนัข
กลุ่มที่ 4 เรื่อง ไก่

- - - >  กลุ่มดิฉันได้หน่วย สัตว์ เรื่อง สุนัข

วิธีการสอน
ขั้นที่ 1 ร้องเพลงสุนัข
ขั้นที่ 2 ถามความรู้เดิมว่าเด็กรู้จักสุนัขชนิดอะไรบ้าง
ขั้นที่ 3 ถามในเนื้อเพลงมีสุนัขชนิดไหนบ้าง
ขั้นที่ 4 นับจำนวนชนิดของสุนัข
ขั้นที่ 5 แยกประเภทของสุนัขว่าชนิดไหนมากกว่า
จากนั้น....ให้เด็กหยิบจากกล่อง 1 ต่อ 1 เพื่ออกมานับจำนวน ต่อมาครูและนักเรียนร้องเพลงสุนัขร่วมกันอีกครั้ง
















*-* เลขที่ 28 และ 12 นำเสนอ โทรทัศน์ครูและบทความ

      เลขที่  28 นางสาว ยุภา  ธรรมโคตร
นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ฝึกคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
สรุปได้ว่า   การฝึกคิดสร้างสรรค์ ฝึกให้เด็กเกิดจิตนาการอย่างในวีดีโอ คุณครูให้นักเรียนไปหยิบก้อนหินมาคนละ  1 ก้อน และให้เด็กๆ นำอุปกรณ์ มีกระดาษ กรรไกร ดินน้ำมัน สี กาว สำหรับใช้ตกแต่งก้อนหิน โดยเด็กสามารถตกแต่งเป็นแบบไหนก็ได้ตามจิตนาการเด็กเอง ซึ่งเชื่อมโยงในเรื่องของคณิตศาสตร์ คือเรื่องของจำนวน ของก้อนหิน ขนาดกระดาษ การปั้มดินน้ำมัน การกะกาวในการทา

     เลขที่ 12  นางสาว เจนจิรา  เทียมนิล
นำเสนอบทความ  เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า  การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เราขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเลขาคณิตสามมิติและรูปเลขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์  ตรงตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


วิธีการสอน
*-* ใช้คำถามให้วิเคราะห์
      ใช้เพลงและคำคล้องจอง
      ให้คำแนะนำกับนักศึกษาในการนำเสนอการสอนตามเผนของนักศึกษา

ประเมิน

สภาพห้องเรียน
- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง
- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการจัดกิจกรรมการสอน ช่วยเพื่อนสอนเรื่องหน่วยของ สุนัข และร่วมร้องเพลงกับพื่อนๆ

เพื่อนในห้อง
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนน้อยที่ไม่เรียบร้อย เพื่อนๆเตรียมการสอนมาดี มีการเตรียมสื่อการสอนมา แต่ละกลุ่มมีเทคนิคการสอนที่แตกต่าง ลีลาการสอนก็หลาหลายมีดี มีปรับปรุงแก้ไขบ้างเป็นบางกลุ่ม และได้คำแนะนำจากครูผู้สอน

อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย อาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่น่าสนใจ สอนตามแผนอย่าสอนเกินแผน ใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก



ประจำวัน ศุกร์ ที่ 3 เมษายน 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ

***กิจกรรมตัวอย่าง

- - - > จากการดูภาพสัตว์พบว่า สัตว์ทั้งหมด 6 ตัว เป็นสัตว์ 4 ขา ทั้งหมด

*** ครูเขียนคำบนกระดาน ดังนี้
ม้าลาย     2   ตัว
กระต่าย   1   ตัว
ไก่           3   ตัว
- - - > มีขารวมกันทั้งหมดกี่ขา ?
 
นักเรียนจะเกิดกระบวนการคิด
ม้าลาย     มี    4    ขา  =  4 + 4   =  8
กระต่าย    มี    4    ขา =  4
ไก่             มี   2    ขา  = 2 + 2 + 2 = 6
จะได้        8 + 4 + 6 = 18
ตอบ  มีขารวมกันทั้งหมด 18 ขา
- - - > จากคำบนกระดานพบว่าครูต้องการสอนเกี่ยวกับตัวเลข จำนวนสัตว์ จำนวนขาของสัตว์
และเลขฐานสิบ

*** การออกแบบกิจกรรม
ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
1.ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2.วิเคราะห์เนื้อหา
3.ศึกษาประสบการณืสำคัญ
4.บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
5.ออกแบบกิจกรรม

ทักษะ
***เก็บตก เลขที่ 4, 5, 6, และ 25 นำเสนอ
              เลขที่ 25 นางสาว สุจิตรา  มาวงษ์
นำเสนอ โทรทัศน์ครู เรื่อง ท๊อคอเบาว์คิดส์ สอนคณิตศาสตร์อ.1 ครูจอย
สรุปได้ว่า  อนุบาล 1 ต้องสอนผ่านการเล่น การมีสิ่งที่เขาสนใจสิ่งที่ดึงดูดเขา เล่น  รูปทรง  สี
การสอนต้องเป็นการสอนแบบถามแล้วให้เขาตอบมีส่วนร่วมเสมอ ให้เขาได้จับได้สำผัส
และต้องยกตัวอย่างให้เขาเห็นอย่างชัดเจน  เช่น การจะสอนเลข 1  ต้องให้เขาเห็นเลข 1 ว่า
เป็นรูปทรงแบบไหน  ให้จับสำผัสเป็นรูปทรงยังไง  สอนตัวเลขแตาละตัวต้องให้เวลา 1  อาทิตย์เพื่อให้เด็กจำได้อย่างแม่นยำ และการสอนต้องแซกด้วยเกมเพื่อให้เด็กสนใจมากขึ้น

             เลขที่ 4 นางสาว เปมิกา  ชุติมาสวรรค์
นำเสนอวิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
สรุปได้ว่า
       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยอายุ ระหว่าง 4-5 ปี  ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจากเลือกแบบเจาะจง จากห้องเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสรี่

  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    1. แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสเซอรี่
    2. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

สรุปผลการวิจัย
      ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ

              เลขที่ 5 นางสาว รัชดา  เทพเรียน
นำเสนอวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า จากผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือ
ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนกาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย ที่ระดับ0.01
     โดยเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครูทั้งนี้อาจเพราะเด็ก ชอบเล่นเกม ชอบร้องเพลงอยู่เเล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เช่นการเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุก ทำให้เ็กมีความสุข การเรียนปนเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจเคร่งเครียดจนเกินไป มีเเบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มีความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์

              เลขที่ 6 นางสาว กมลรัตน์  มาลัย
นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
สรุปได้ว่า  ทำการวิจัยกับเด็กอนุบาลชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่1
ภาคเรียน ที่2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร
       ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม
ตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาส
เลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ดังนี้

     1.ด้านการสังเกตและการจำแนก   ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้
เด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนกและได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอด
แทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม เช่น คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำ
กิจกรรมและให้สังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

    2.ด้านการเปรียบเทียบ  การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้
ทักษะการเปรียบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกต
ขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่าง

     3.ด้านการจัดหมวดหมู่  ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมา
ทำกิจกรรม เช่น ในการจัดกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดย
การจัดหมวดหมู่ตามสีและรูปทรงของขนม

เขียนออกมาเป็นมายเเมบ ตามหัวข้อ ในเรื่อง ชนิด ลักษณะ การดูแลรักษา ประโยขน์ ข้อควรระวัง

แตกย่อยๆๆออกไปตามหัวข้อ โดยกลุ่มดิฉันได้เรื่องสุนัข

***เขียนแผนกิจกรรมประสบการณ์ เรื่อง ผลไม้/สัตว์
โดยใช้การออกแบบกิจกรรมเขียนมายแม๊ปตามหัวข้อดังนี้


กลุ่มดิฉันได้ หน่วย - สัตว์
แบ่งกลุ่ม 5 คน 4 กลุ่ม
กลุ่มที่  1  สุนัข
กลุ่มที่  2  แตงโม
กลุ่มที่  3 ไก่
กลุ่มที่  4  กล้วย

วิธีการสอน

***ใช้การบรรยาย PowerPoint
      ใช้การระดมความคิดเห็น
      ใช้คำถามให้วิเคราะห์
      ใช้เพลงและคำคล้องจอง

ประเมิน

สภาพห้องเรียน

- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ต้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนน้อยที่ไม่เรียบร้อย

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย


ประจำวัน พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


ความรู้ที่ได้รับ
*** นำเสนอนิทาน คำคล้องจอง และปริศนาคำทาย ตามสาระที่ตนเองได้รับมอบหมาย
มีทั้งหมด  6 สาระ สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
                             สาระที่ 2 การวัด
                             สาระที่ 3 เรขาคณิต
                             สาระที่ 4 พีชคณิต
                             สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                             สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะ
*** เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนิทาน คำคล้องจอง และปริศนาคำทาย  ตามสาระที่ตนเองได้รับมอบหมาย

- - - > กลุ่มที่ 1 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
        *นิทาน เรื่อง   แมวน้อย



       *คำคล้องจอง  เรื่อง แมวน้อย               นับเลข


   
       *ปริศนาคำทาย เรื่อง ฉันคือใคร?





- - - > กลุ่มที่ 2 สาระที่ 2 การวัด
*นิทาน
*คำคล้องจอง
*ปริศนาคำทาย

- - - > กลุ่มที่ 3 สาระที่ 3 เรขาคณิต
 *นิทาน เรื่อง รูปทรงหรรษา

                       *คำคล้องจอง

     ลูกวัวยืนอยู่ใกล้       ฟางกองใหญ่ริมท้องนา

    แม่วัวเฝ้าห่วงหา        คอยมองตามมิห่างไกล

     ลูกหมาวิ่งมุ่งมา          อยู่ไม่ห่างไกลออกไป

ลูกวัวเห็นแสนตกใจ        วิ่งหลบใต้ท้องแม่วัว

*ปริศนาคำทาย

- - - > กลุ่มที่ 4 สาระที่ 4 พีชคณิต
*นิทาน
*คำคล้องจอง
*ปริศนาคำทาย

- - - > กลุ่มที่ 5 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
*นิทาน
*คำคล้องจอง
*ปริศนาคำทาย

- - - > กลุ่มที่ 6 สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
*นิทาน
*คำคล้องจอง
*ปริศนาคำทาย


วิธีการสอน

***ใช้การระดมความคิดเห็น
      ใช้คำถามให้วิเคราะห์
      ใช้เพลงและคำคล้องจอง นิทาน


ประเมิน

สภาพห้องเรียน


- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน นำเสนองานได้เรียบร้อย

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย


วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 20 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


สิ่งที่ได้รับมอบหมาย

อาจารย์มอบหมายงานให้แบ่งกลุ่ม  8 กลุ่ม
ให้ทำงานตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทั้ง 6 สาระโดยเลือกมา 1 สาระ ในหนึ่งสาระเพื่อจะทำตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1.นิทาน
เรื่อง แมวน้อย

2.คำคล้องจอง
เรื่อง

3.ปริศนาคำทาย
เรื่อง ฉันคือใคร ?

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ                                        2  กลุ่ม
สาระที่ 2 การวัด                                                                      1  กลุ่ม
สาระที่ 3 เรขาคณิต                                                                 1 กลุ่ม
สาระที่ 4 พีชคณิต                                                                   1 กลุ่ม
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น                     1 กลุ่ม
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์              1 กลุ่ม




วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 13 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


ความรู้ที่ได้รับ

*** เลขที่ 22 - 24 นำเสนองานวิจัย
เลขที่ 22 นางสาว ประภัสสร  สีหบุตร
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ศิลปะเข้ามาช่วย
คือ 1.ศิลปะย้ำ นำศิลปะมาย้ำให้เด็กจดจำ
      2.ศิลปะถ่ายโยง  นำศิลปะมาวาดภาพเหมือน
      3.ศิลปะการปรับภาพ  นำศิลปะมาสร้างศิลปะ
      4.ศิลปะเปรียบแบบ
ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1.ขั้นการกระตุ้น
2.ขั้นกรองสู่มโนทักศน์ร่อนให้เห็นภาพ
3.ขั้นการย้ำทวนพัฒนาด้วยศิลปะ
4.ขั้นสาระสำคัญ

เลขที่ 24 นางสาว มาศุภา  วงษ์สันต์
เรื่อง
สรุปได้ว่า
วิธีการ  - ครูเปิดเพลงสอนเนื้อหาคณิตศาสตร์ให้เด็กฝึกร้องพลง
            - เคลื่อนไหวประกอบเพลง
            - เปิดเพลงให้เด็กฟังขณะที่เล่น
            - จัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
สรุป คือ จากวิธีการสอนแบบนี้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

*** ทบทวนสาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
*** นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์ต่างๆ (เพิ่มเติม)
*** นำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของแต่ละคน

คำคล้องจอง    เรื่อง  ใหญ่-เล็ก

                                                           มาลีเดินมาเห็นหมาตัวใหญ่
                                                          มาลีตกใจร้องไห้กลัวหมา
                                                          เห็นแมวตัวน้อยค่อยค่อยก้าวมา
                                                          แมวเล็กกว่าหมามาลีไม่กลัว


ทักษะ

*** ทำกิจกรรมวิเคราะห์ผลไม้แล้วนำมาจัดหมวดหมู่




วิธีการสอน

*** ใช้การบรรยาย Powerpoint
       ใช้คำถามให้วิเคราะห์
       ใช้การระดมความคิดเห็น
       ใช้การสอนโดยให้นักศึกษาเป็นครูผู้สอน หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
       ใช้คำคล้องจอง

ประเมิน

สภาพห้องเรียน
- ห้องเรียนสะอาด โต้ะเก้าอี้จัดเรียบร้อย พร้อมที่จะเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนครบ

ตนเอง
- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย จดบันทึกการเรียนการสอนทุกครั้ง ตอบบคำถามและร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อนในห้อง
- เพื่อนๆส่วนมากตั้งใจเรียน ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน ร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน มีส่วนน้อยที่คุยและไม่ตั้งใจฟัง

อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนโดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับนักศึกษา สอนเข้าใจ ไม่เครียด



วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 6 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

ความรู้ที่ได้รับ

*** การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์    - จัดผ่านสื่อ
                                                             - จัดผ่านกิจวัตรประจำวัน
       สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวน
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


           เลขที่ 19 - 21 นำเสนอบทความ


เลขที่ 19 นางสาว วราภรณ์  แทนคำ

เรื่อง   ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก?

สรุปได้ว่า  การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กเป็นการกระตุ้นสมองของเด็กให้เกิดการเรียนรู้  เช่น การแยกจำนวน  เด็กก็รู้จักการแยะแยะ เป็นต้น การสอนคณิตศาสตร์เป็นการสอนให้เด็กคิดเป็นเหตุเป็นผลของสมองซีกขวา เพื่อไม่ให้สมองฟ่อและยังทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


เลขที่ 20 นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธุ์

เรื่อง  คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุก?

สรุปได้ว่า   การที่จะทำให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์แล้วสนุกต้องมีการต่อยอดโดยการทำกิจกรรม 

เช่น มีเด็กคนหนึ่งไม่ทำการบ้านมา คุณครูจะไม่ลงโทษแต่คุณครูจะให้เวลา 20 นาที เพื่อให้เด็กทำการบ้าน ถ้าเด็กทำผิดก็จะไม่ทำเครื่องผิดลงสมุดของเด็ก จะสอนให้เด็กเข้าใจ เพราะคุณครูไม่อยากให้เด็กเกลียดคณิตศาสตร์หรือไม่ชอบคณิตศาสตร์ จึงใช้เทคนิคคือ เกม และ เพลง มาร่วมด้วย

           
         รูปแบบการจัดประสบการณ์

1.รูปแบบการจับประสบการณ์แบบโครงการ  
         การสอนแบบโครงการเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าตามความสนใจของตนอง การจัดการเรียนการสอนมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลักเพื่อให้เด็กมีโอกาสที่จะศึกษาเรื่องที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง  มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการวางแผนร่วมกัน ได้สังเกต ทลอง ปฏิบัติ เพื่อคิดค้นหาคำตอบเรื่องที่สงสัย จึงเป็นการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยผู้สอนคอยช่วเหลือและสนับสนุนให้เด็ก

2.รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน
    
         เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำเอาองค์ความรู้ของสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ ครูต้องใช้เทคนิคและกลวิธีที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นสมองผู้เรียน ดังนั้นการสอนที่ดีต้องสอดคล้องกับการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการศึกษานั้นขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขสนุกสนานในการเรียนตามรูปแบบที่ถนัด

3.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ STEM
ตัวอย่าง โรงเรียนที่มีแนวการสอนแบบ STEM


           เป็นการจัารศึกษาแบบบูรณาการวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือ STEM เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนของทั้ง 4 สาระ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานกันแล้วนำมาจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

4.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่ 
ตัวอย่างการสอนแบบมอนเตสซอรี่

          
         เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้นไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้แลตัดสินใจด้วยตนอง
การเตรียม         = ครูตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเขาเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ  = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ 
                             ข้นสอน ครูสาธิตให้เด็กู
                             ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

5.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ   
            
          เป็นการสอนที่ใช้วิธีการสอนหลายวิธีในการจัดกิจกรรมต่างๆ ลักษณะการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กเรียนรู้ตามความสนใจหรือเด็กได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ ครูจึงควรศึกษาก่อนว่าทักษะ สาระการเรียนรู้ หรือประสบการณ์ที่สำคัญใดที่จะจัดให้กับเด็ก แล้วจึงวางแผนการจัดกิจกรรมต่อไป     
เพลง บวก - ลบ 

  บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ        ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเธอ          ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ    หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ               ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลง  เท่ากันไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา       ม้ามีสี่ขา
  คนเรานั้นหนา        สองขอต่างกัน
                 ช้างม้ามี         สี่ขาเท่ากัน   (ซ้ำ)
               แต่กับคนนั้น        ไม่เท่ากันเอย ( ซ้ำ)

มอบหมายงาน
*** เตรียมนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์

ทักษะ
***  ทำกิจกรรม
1.นำป้ายชื่อมาติด
2.แสดงตัวว่ามาเรียน
3.นับจำนวนคนมาเรียน

ตารางแสดงการมาเรียน


กลุ่ม
สตอเบอรี่
เชอรี่
แอปเปิ้ล
ลิ้นจี่
สมาชิก
1





2





3





4





5       





จำนวน
5
5
5
4
24

วิธีการสอน

***ใช้การบรรยาย PowerPoint
      ใช้การระดมความคิดเห็น
      ใช้คำถามให้วิเคราะห์
      ใช้เพลงและคำคล้องจอง
   
การประเมิน

สภาพห้องเรียน


- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ต้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนน้อยที่ไม่เรียบร้อย

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 20 กุมภาพันธุ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

ความรู้ที่ได้รับ

*** - รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
       - ทดสอบก่อนเรียน ---> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ STEM
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสเซอรี่
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง
     - เลขที่ 16 -18 นำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่ 16 นางสาว วัชรี  วงศ์สะอาด
เรื่อง  ผลไม้แสนสุข
สรุปได้ว่า  ครูทำกิจกรรมบูรณาการเรื่องผลไม้ โดยการให้เด็กชิมรสผลไม้ ครูเคลื่อนไหวโดยใช้เทคนิคคำคล้องจอง นำคำคล้องจองมาเล่นกับเด็กๆ เช่น จำจี้ผลไม้ เป็นต้น แล้วให้เด็กๆได้เจอสังคม โดยก่อนจะเจอสังคมเด็กๆต้องทำข้กตกลงกับคุณครูเรื่อง การตั้งคำถามในการนำไปถามโดยไหว้ทักทาย/ เรียนรู้สังคม เช่น การให้เด็กลองซื้อผลไม้ในตลาด เพื่อให้เด็กๆเรียนรู้เรื่องรูปทรง ตาชั่ง ขนาด
บูรณาการศาสตร์คือ   สังคม = การพูดคุย
                                  วิทยาศาสตร์ = ชิมรส
                                  ภาษา = การใช้คำถาม  การพูดคุย
                                  คณิตศาสตร์ = รูปทรง ขนาด
                             
เลขที่ 17 นางสาว  เวรุวรรณ  ชูกลิ่น
เรื่อง กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส จังหวัดศรีษเกศ
สรุปได้ว่า  ประสาทสัมผัสที่ 1 กระบอกพิมพ์  ให้เด็กเรียนรู้การมองขนาดของพิมพ์
                 ประสาทสัมผัสที่ 2 ให้นักเรียนดูกระบอกเสียงแล้วให้บอกว่าเสียงนั้นคืออะไร
                 ประสาทสัมผัสที่ 3 ให้นักเรียนสัมผัส แล้วให้บอกถึงความหนาและการยืดหยุ่นของผ้า
                 ประสาทสัมผัสที่ 4 ให้นักเรียนดมกลิ่น แล้วมาบอกถึงกลิ่นที่ได้ดม
                 ประสาทสัมผัสที่ 5 การลิ่มรส เช่น น้ำเชื่อม  น้ำมะนาว เป็นต้น แล้วให้เด็กบอกถึงรสชาติของน้ำนั้นๆ
คณิตศาสตร์ คือ การเรียนรู้ต่างๆเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ไปเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อๆไป
ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำและรับรู้สัมผัสด้วยตนเอง

      - รูปแบบการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ คือ กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ความสำคัญ  ช่วยให้เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงในการแก้ปัญหาได้
การนำไปใช้
* เด็กอยากรู้อะไร  (เด็กเป็นศูนย์กลาง)
* เด็กต้องรู้อะไร(ครูเป็นศูนย์กลาง)
* เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไรได้

      - สาระที่ควรเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
บุคคล/สถานที่
ธรรมชาติรอบตัว
สิ่งต่างๆรอบตัว

ทักษะ

***-นำเสนอกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สาระตามมาตรฐาน
1.เรื่อง การหยอดบล๊อค ซึ่งสามารถให้เด็กได้ทดสอบ หรือ ลงมือกระทำด้วยตนเอง
2.เรื่อง เครื่องชั่งสองแขน ซึ่งเด็กก็จะได้เรื่องของน้ำหนัก
3.เรื่องการต่อภาพเหมือน ซึ่งเด็กๆก็จะได้คณิตศาสตร์เรื่องของรูปทรง
    - นำป้ายชื่อมาติดหน้าห้องทีละคน เพื่อเรียนรู้เรื่องของเวลา การจัดหมวดหมู่ และการเรียงลำดับ
    -ทำกิจกรรมแตกแผนความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดกิจกรรมในหัวข้อที่แต่ละคนเลือกเอง แล้วแตกแผนออกไปตามหัวข้อย่อยๆ

                 ชนิด     --->     ประโยชน์    --->        ข้อควรระวัง 
เสื้อผ้า   
              ลักษณะ  --->   ส่วนประกอบ  --->    การดูแลรักษา


วิธีการสอน

*** ใช้การบรรยาย PowerPoint
       ใช้การระดมความคิด และอภิปราย
       ใช้เพลง
       ใช้คำคล้องจอง

การประเมิน

สภาพห้องเรียน
- สะอาด อุปกรณ์การเรียนการสอนครบ พร้อมใช้งาน บรรยากาศดี น่าเรียน

ตัวเอง
- ตั้งใจเรียน มาเรียนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ขณะที่เรียน

เพื่อนในห้อง
- ทุกคนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน แต่มีเพียงบางคนเท่านั้นที่คุย ไม่ฟังอาจารย์ แต่ทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ระดมความคิด และตอบคำถาม

อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์แต่งกายสุภาพ อาจารย์ใช้วิธีการสอนที่เรียนแล้วไม่ง่วง ให้เด็กลงมื่อปฎิบัติเอง ไม่ใช่แค่นั่งฟัง นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วม


*** ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จะมีผลกระทบอย่างไรเกิดขึ้น ?
ผลกระทบ เด็กจะไม่รับรู้และไม่เปิดรับคณิตศาสตร์เข้ามาเรียนรู้ ครูผู้สอนจึงควรใช้เทคนิคต่างๆที่น่าสนใจทำให้เด็กรู้ว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก ใช้สื่อและเทคนิคการสอนกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์อีกครั้ง




วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

ความรู้ที่ได้รับ

***  - ได้เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตสาสตร์ ซึ่งได้แก่ นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย บทบาทสมมติ และแผนภูมิภาพ เป็นต้น

ตัวอย่าง เทคนิคการใช้คำคล้องจอง

ไข่ 2 ฟอง กลอง 2 ใบ ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา สองอย่างหมดเลย

        - เลขที่ 13-15 นำเสนองานวิจัย

         เลขที่ 14 นางสาว ศุทธินี  โนนริบูรณ์ 
เรื่อง ผลการใช้สื่อในการท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ด้านการจัดประเภท 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีพ.ศ. 2552
สรุปได้ว่า  เขาได้ทดสอบเรื่องการจัดประเภททางคณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี ที่บ้านเจียด จังหวัดอุบลราชธานี โดยที่เขาใช้สื่อท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ในการจัดกิจกรรมให้เด็กทำ พบว่าเด็กทำแบบทดสอบ ได้มากกว่าตอนก่อนที่จะจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อ แสดงว่า เมื่อใช้สื่อในการจัดกิจกรรมทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องการจัดประเภททางคณิตศาสตร์

         เลขที่ 15 นางสาว ภัทรวรรณ  หนูแก้ว
เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
เขียนโดย นางสาว ทัศดาว เทียมงาม  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีพ.ศ.2549
สรุปได้ว่า  เขาจัดกิจกรรมเรียนปนเล่น โดยใช้การเล่นแบบไทยในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยทดสอบกับเด็กอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน ทดสอบเรื่องการนับ จำนวน รู้จักตัวเลข จำนวนคู่-คี่ โดยใช้หลักการประเมินคือ ขั้นที่ 1 ศึกษาภูมิหลังของเด็ก
                  ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์
                  ขั้นที่ 3 จัดวางแผนประสบการณ์
                  ขั้นที่ 4 เลือกสื่อ
  
ผลการทดสอบ พบว่าครูควรจัดกิจกรรมที่ง่าย - - - > ยาก จากรูปธรรม - - - > นามธรรม เพื่อฝึกทักษะการคิดที่มีเหตุผล จัดให้สอดคล้องกับวัยเพื่อพัฒนาการนับ ตัวเลข จำนวนคู่-คี่ การเปียบเทียบ ของเด็ก

ทักษะ

*** - นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณืคณิตศาสตร์ ซึ่งเพื่อนๆได้นำเสนอมาทั้งหมด 5 เทคนิค
คือ 1. การเอาตุ๊กตาไปวางไว้ที่ตะกร้าเวลาเที่ยง เพื่อไปรับประทานอาหาร หลังจากรับระทานอาหารเสร็จก็มาหยิบตุ๊กตาของตัวเองกลับมาอยู่กับตัว ซึ่งเทคนิคนี้เป็นการสอนคณิตศาสตร์เรื่องของ เวลา
      2.สร้างสื่อการสอนเกี่ยวกับเรื่องของเงิน โดยการทำเงินสมมติขึ้นมา แล้วให้เด็กนำเงินนั้นไปซื้อของตามที่เด็กต้องการอยากจะซื้อ ซึ่งเป็นการสอนคณิตศาสตร์เรื่อง บทบาทสมมติ
      3.จัดทำป้ายชื่อของเด็กแต่ละแล้วนำไปติดเป็นรูปตัวยูโดยเว้นระยะห่างเท่าๆกัน เพื่อให้เด็กรู้จักการกะระยะ การเว้นระยะห่าง และตำแหน่งของตนเอง
      4.ทำบล๊อคสี่เหลี่ยมที่สามารถถอดออกแล้วนำมาประกอบได้ ให้เด็กนำชิ้นส่วนของบล๊อคมาประกอบกันให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นการสอนคณิตศาสตร์เรื่อง รูปทรงเรขาคณิต

      - ช่วยกันตัดกระดาษขนาด 1 นิ้ว* 1 นิ้ว คนละ 10 แผ่น แล้วนำมาวางต่อกันเป็นรูปทรงต่างๆ โดยห้ามให้แต่ละรูปซ้ำกัน ซึ่งแต่ละคนจะคิดออกมาไม่เหมือนกันและได้ไม่เท่ากัน

      - ช่วยกันระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง

ไข่ 2 ฟอง กลอง 2 ใบ ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา สองอย่างหมดเลย

วิธีการสอน

*** - ใช้การบรรยาย PowerPoint
       - ใช้การระดมความคิด
       - ใช้เพลง คำคล้องจอง
       - ใช้การถาม-ตอบ แสดงความคิดเห็น

ประเมิน

           สภาพห้องเรียน
         - ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ภายในห้องเรียนครบ ใช้งานได้สะดวก แอร์เย็น 
           
           ตัวเอง
         - ตั้งใจเรียน จดบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครู

          เพื่อนในห้องเรียน
        - เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง มีบางคนที่แต่งกายผิดระเบียบ ซึ่งมีเหตุผลมารองรับ

          อาจารย์ผู้สอน
        - อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษากล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น สอนโดยใช้เทคนิคหลากหลายทำให้การเรียนคณิตศาสตร์สนุก ไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่าย