วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 20 กุมภาพันธุ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

ความรู้ที่ได้รับ

*** - รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
       - ทดสอบก่อนเรียน ---> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ STEM
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสเซอรี่
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง
     - เลขที่ 16 -18 นำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่ 16 นางสาว วัชรี  วงศ์สะอาด
เรื่อง  ผลไม้แสนสุข
สรุปได้ว่า  ครูทำกิจกรรมบูรณาการเรื่องผลไม้ โดยการให้เด็กชิมรสผลไม้ ครูเคลื่อนไหวโดยใช้เทคนิคคำคล้องจอง นำคำคล้องจองมาเล่นกับเด็กๆ เช่น จำจี้ผลไม้ เป็นต้น แล้วให้เด็กๆได้เจอสังคม โดยก่อนจะเจอสังคมเด็กๆต้องทำข้กตกลงกับคุณครูเรื่อง การตั้งคำถามในการนำไปถามโดยไหว้ทักทาย/ เรียนรู้สังคม เช่น การให้เด็กลองซื้อผลไม้ในตลาด เพื่อให้เด็กๆเรียนรู้เรื่องรูปทรง ตาชั่ง ขนาด
บูรณาการศาสตร์คือ   สังคม = การพูดคุย
                                  วิทยาศาสตร์ = ชิมรส
                                  ภาษา = การใช้คำถาม  การพูดคุย
                                  คณิตศาสตร์ = รูปทรง ขนาด
                             
เลขที่ 17 นางสาว  เวรุวรรณ  ชูกลิ่น
เรื่อง กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส จังหวัดศรีษเกศ
สรุปได้ว่า  ประสาทสัมผัสที่ 1 กระบอกพิมพ์  ให้เด็กเรียนรู้การมองขนาดของพิมพ์
                 ประสาทสัมผัสที่ 2 ให้นักเรียนดูกระบอกเสียงแล้วให้บอกว่าเสียงนั้นคืออะไร
                 ประสาทสัมผัสที่ 3 ให้นักเรียนสัมผัส แล้วให้บอกถึงความหนาและการยืดหยุ่นของผ้า
                 ประสาทสัมผัสที่ 4 ให้นักเรียนดมกลิ่น แล้วมาบอกถึงกลิ่นที่ได้ดม
                 ประสาทสัมผัสที่ 5 การลิ่มรส เช่น น้ำเชื่อม  น้ำมะนาว เป็นต้น แล้วให้เด็กบอกถึงรสชาติของน้ำนั้นๆ
คณิตศาสตร์ คือ การเรียนรู้ต่างๆเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ไปเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อๆไป
ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำและรับรู้สัมผัสด้วยตนเอง

      - รูปแบบการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ คือ กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ความสำคัญ  ช่วยให้เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงในการแก้ปัญหาได้
การนำไปใช้
* เด็กอยากรู้อะไร  (เด็กเป็นศูนย์กลาง)
* เด็กต้องรู้อะไร(ครูเป็นศูนย์กลาง)
* เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไรได้

      - สาระที่ควรเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
บุคคล/สถานที่
ธรรมชาติรอบตัว
สิ่งต่างๆรอบตัว

ทักษะ

***-นำเสนอกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สาระตามมาตรฐาน
1.เรื่อง การหยอดบล๊อค ซึ่งสามารถให้เด็กได้ทดสอบ หรือ ลงมือกระทำด้วยตนเอง
2.เรื่อง เครื่องชั่งสองแขน ซึ่งเด็กก็จะได้เรื่องของน้ำหนัก
3.เรื่องการต่อภาพเหมือน ซึ่งเด็กๆก็จะได้คณิตศาสตร์เรื่องของรูปทรง
    - นำป้ายชื่อมาติดหน้าห้องทีละคน เพื่อเรียนรู้เรื่องของเวลา การจัดหมวดหมู่ และการเรียงลำดับ
    -ทำกิจกรรมแตกแผนความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดกิจกรรมในหัวข้อที่แต่ละคนเลือกเอง แล้วแตกแผนออกไปตามหัวข้อย่อยๆ

                 ชนิด     --->     ประโยชน์    --->        ข้อควรระวัง 
เสื้อผ้า   
              ลักษณะ  --->   ส่วนประกอบ  --->    การดูแลรักษา


วิธีการสอน

*** ใช้การบรรยาย PowerPoint
       ใช้การระดมความคิด และอภิปราย
       ใช้เพลง
       ใช้คำคล้องจอง

การประเมิน

สภาพห้องเรียน
- สะอาด อุปกรณ์การเรียนการสอนครบ พร้อมใช้งาน บรรยากาศดี น่าเรียน

ตัวเอง
- ตั้งใจเรียน มาเรียนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ขณะที่เรียน

เพื่อนในห้อง
- ทุกคนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน แต่มีเพียงบางคนเท่านั้นที่คุย ไม่ฟังอาจารย์ แต่ทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ระดมความคิด และตอบคำถาม

อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์แต่งกายสุภาพ อาจารย์ใช้วิธีการสอนที่เรียนแล้วไม่ง่วง ให้เด็กลงมื่อปฎิบัติเอง ไม่ใช่แค่นั่งฟัง นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วม


*** ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จะมีผลกระทบอย่างไรเกิดขึ้น ?
ผลกระทบ เด็กจะไม่รับรู้และไม่เปิดรับคณิตศาสตร์เข้ามาเรียนรู้ ครูผู้สอนจึงควรใช้เทคนิคต่างๆที่น่าสนใจทำให้เด็กรู้ว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก ใช้สื่อและเทคนิคการสอนกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์อีกครั้ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น