เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ปีพ.ศ. 2550
ที่มา: ปริญญานิพนธ์ ของ คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว
ปัจจุบันมีการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย
เช่น การเล่านิทานคณิตเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย เป็นต้น จะเห็นได้ว่าผู้สอนมีการกระตุ้นการเรียนด้วยความเพลิดเพลินและความสนใจของเด็ก (จิตทนาวรรณ เดือนฉาย 2541) หรือการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ทรายสีเพื่อศึกษาการคิดเชิงเหตุผลของเด็ก (วรภรณ์ นาคศิริ 2546) ซึ่งศิลปะเป็นตัวที่ช่วยให้เด็กสื่อสารและบูรณาการประสบการณ์ที่มี ผสมผสานกับความรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ลงในศิลปะที่เด็กแสดงออกมา รวมไปถึงสื่อศิลปะที่อยู่ในรูปแบบธรรมชาติทำให้เด็กมีการเรียนรู้อย่างอิสระและนำไปสู่การเรียนรู้แบบเข้าใจสังคม
กิจกรรมที่สามารถจัดเพื่อการเรียนรู้ จำแนกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้
1.ศิลปะย้ำ คือ การย้ำการเรียนรู้ด้วยศิลปะ
2.ศิลปะถ่ายโยง คือ การถ่ายทอดการเรียนรู้ศิลปะ
3.ศิลปะปรับภาพ คือ ปรับภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลปะ
4.ศิลปะเปลี่ยนแบบ คือ เปลี่ยนสิ่งเรียนรู้เป็นงานศิลปะ
5.ศิลปะบูรณาการ คือ บูรณาการการเรียนรู้สู่ศิลปะ
6.ศิลปค้นหา คือ ค้นหาความรู้จากศิลปะ
1.ศิลปะย้ำ คือ การย้ำการเรียนรู้ด้วยศิลปะ
2.ศิลปะถ่ายโยง คือ การถ่ายทอดการเรียนรู้ศิลปะ
3.ศิลปะปรับภาพ คือ ปรับภาพการเรียนรู้เป็นงานศิลปะ
4.ศิลปะเปลี่ยนแบบ คือ เปลี่ยนสิ่งเรียนรู้เป็นงานศิลปะ
5.ศิลปะบูรณาการ คือ บูรณาการการเรียนรู้สู่ศิลปะ
6.ศิลปค้นหา คือ ค้นหาความรู้จากศิลปะ
การจัดกิจรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นการเรียนรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่เน้นว่า ศิลปะเป็นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ ทำให้เด็กรับรู้เข้าใจ จำได้ สนุกเพลิดเพลินกับสิ่งที่เรียน เด็กได้สังเกต วิเคราะห์ เปรียบเทียบ สนทนาสื่อความหมาย สรุปความคิดเห็นจาก ข้อมูลที่เด็กเรียนรู้ ถ้าครูกระตุ้นให้เป็นการเรียนรู้จากผลการวิจัยของ กุลยา ตันติผลาชีวะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น