วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 20 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


สิ่งที่ได้รับมอบหมาย

อาจารย์มอบหมายงานให้แบ่งกลุ่ม  8 กลุ่ม
ให้ทำงานตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทั้ง 6 สาระโดยเลือกมา 1 สาระ ในหนึ่งสาระเพื่อจะทำตามหัวข้อดังต่อไปนี้

1.นิทาน
เรื่อง แมวน้อย

2.คำคล้องจอง
เรื่อง

3.ปริศนาคำทาย
เรื่อง ฉันคือใคร ?

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ                                        2  กลุ่ม
สาระที่ 2 การวัด                                                                      1  กลุ่ม
สาระที่ 3 เรขาคณิต                                                                 1 กลุ่ม
สาระที่ 4 พีชคณิต                                                                   1 กลุ่ม
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น                     1 กลุ่ม
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์              1 กลุ่ม




วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 13 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


ความรู้ที่ได้รับ

*** เลขที่ 22 - 24 นำเสนองานวิจัย
เลขที่ 22 นางสาว ประภัสสร  สีหบุตร
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ศิลปะเข้ามาช่วย
คือ 1.ศิลปะย้ำ นำศิลปะมาย้ำให้เด็กจดจำ
      2.ศิลปะถ่ายโยง  นำศิลปะมาวาดภาพเหมือน
      3.ศิลปะการปรับภาพ  นำศิลปะมาสร้างศิลปะ
      4.ศิลปะเปรียบแบบ
ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1.ขั้นการกระตุ้น
2.ขั้นกรองสู่มโนทักศน์ร่อนให้เห็นภาพ
3.ขั้นการย้ำทวนพัฒนาด้วยศิลปะ
4.ขั้นสาระสำคัญ

เลขที่ 24 นางสาว มาศุภา  วงษ์สันต์
เรื่อง
สรุปได้ว่า
วิธีการ  - ครูเปิดเพลงสอนเนื้อหาคณิตศาสตร์ให้เด็กฝึกร้องพลง
            - เคลื่อนไหวประกอบเพลง
            - เปิดเพลงให้เด็กฟังขณะที่เล่น
            - จัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
สรุป คือ จากวิธีการสอนแบบนี้ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

*** ทบทวนสาระมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
*** นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์ต่างๆ (เพิ่มเติม)
*** นำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของแต่ละคน

คำคล้องจอง    เรื่อง  ใหญ่-เล็ก

                                                           มาลีเดินมาเห็นหมาตัวใหญ่
                                                          มาลีตกใจร้องไห้กลัวหมา
                                                          เห็นแมวตัวน้อยค่อยค่อยก้าวมา
                                                          แมวเล็กกว่าหมามาลีไม่กลัว


ทักษะ

*** ทำกิจกรรมวิเคราะห์ผลไม้แล้วนำมาจัดหมวดหมู่




วิธีการสอน

*** ใช้การบรรยาย Powerpoint
       ใช้คำถามให้วิเคราะห์
       ใช้การระดมความคิดเห็น
       ใช้การสอนโดยให้นักศึกษาเป็นครูผู้สอน หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
       ใช้คำคล้องจอง

ประเมิน

สภาพห้องเรียน
- ห้องเรียนสะอาด โต้ะเก้าอี้จัดเรียบร้อย พร้อมที่จะเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอนครบ

ตนเอง
- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย จดบันทึกการเรียนการสอนทุกครั้ง ตอบบคำถามและร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อนในห้อง
- เพื่อนๆส่วนมากตั้งใจเรียน ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน ร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียน มีส่วนน้อยที่คุยและไม่ตั้งใจฟัง

อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนโดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับนักศึกษา สอนเข้าใจ ไม่เครียด



วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 6 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

ความรู้ที่ได้รับ

*** การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์    - จัดผ่านสื่อ
                                                             - จัดผ่านกิจวัตรประจำวัน
       สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวน
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


           เลขที่ 19 - 21 นำเสนอบทความ


เลขที่ 19 นางสาว วราภรณ์  แทนคำ

เรื่อง   ทำไมถึงสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก?

สรุปได้ว่า  การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กเป็นการกระตุ้นสมองของเด็กให้เกิดการเรียนรู้  เช่น การแยกจำนวน  เด็กก็รู้จักการแยะแยะ เป็นต้น การสอนคณิตศาสตร์เป็นการสอนให้เด็กคิดเป็นเหตุเป็นผลของสมองซีกขวา เพื่อไม่ให้สมองฟ่อและยังทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง


เลขที่ 20 นางสาว รัตนาภรณ์  คงกะพันธุ์

เรื่อง  คณิตศาสตร์เรียนอย่างไรให้สนุก?

สรุปได้ว่า   การที่จะทำให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์แล้วสนุกต้องมีการต่อยอดโดยการทำกิจกรรม 

เช่น มีเด็กคนหนึ่งไม่ทำการบ้านมา คุณครูจะไม่ลงโทษแต่คุณครูจะให้เวลา 20 นาที เพื่อให้เด็กทำการบ้าน ถ้าเด็กทำผิดก็จะไม่ทำเครื่องผิดลงสมุดของเด็ก จะสอนให้เด็กเข้าใจ เพราะคุณครูไม่อยากให้เด็กเกลียดคณิตศาสตร์หรือไม่ชอบคณิตศาสตร์ จึงใช้เทคนิคคือ เกม และ เพลง มาร่วมด้วย

           
         รูปแบบการจัดประสบการณ์

1.รูปแบบการจับประสบการณ์แบบโครงการ  
         การสอนแบบโครงการเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าตามความสนใจของตนอง การจัดการเรียนการสอนมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลักเพื่อให้เด็กมีโอกาสที่จะศึกษาเรื่องที่ตนเองสนใจอย่างแท้จริง  มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีการวางแผนร่วมกัน ได้สังเกต ทลอง ปฏิบัติ เพื่อคิดค้นหาคำตอบเรื่องที่สงสัย จึงเป็นการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยผู้สอนคอยช่วเหลือและสนับสนุนให้เด็ก

2.รูปแบบการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน
    
         เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำเอาองค์ความรู้ของสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ ครูต้องใช้เทคนิคและกลวิธีที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นสมองผู้เรียน ดังนั้นการสอนที่ดีต้องสอดคล้องกับการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของการศึกษานั้นขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสุขสนุกสนานในการเรียนตามรูปแบบที่ถนัด

3.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ STEM
ตัวอย่าง โรงเรียนที่มีแนวการสอนแบบ STEM


           เป็นการจัารศึกษาแบบบูรณาการวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือ STEM เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนของทั้ง 4 สาระ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานกันแล้วนำมาจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

4.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่ 
ตัวอย่างการสอนแบบมอนเตสซอรี่

          
         เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้นไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้แลตัดสินใจด้วยตนอง
การเตรียม         = ครูตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเขาเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ  = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ 
                             ข้นสอน ครูสาธิตให้เด็กู
                             ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

5.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ   
            
          เป็นการสอนที่ใช้วิธีการสอนหลายวิธีในการจัดกิจกรรมต่างๆ ลักษณะการจัดการเรียนรู้เป็นแบบเปิดกว้าง จัดให้มีประสบการณ์ที่หลากหลายโดยให้เด็กเรียนรู้ตามความสนใจหรือเด็กได้แสดงออกในแนวทางที่เขาสนใจ ครูจึงควรศึกษาก่อนว่าทักษะ สาระการเรียนรู้ หรือประสบการณ์ที่สำคัญใดที่จะจัดให้กับเด็ก แล้วจึงวางแผนการจัดกิจกรรมต่อไป     
เพลง บวก - ลบ 

  บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ        ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเธอ          ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ    หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ               ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

เพลง  เท่ากันไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา       ม้ามีสี่ขา
  คนเรานั้นหนา        สองขอต่างกัน
                 ช้างม้ามี         สี่ขาเท่ากัน   (ซ้ำ)
               แต่กับคนนั้น        ไม่เท่ากันเอย ( ซ้ำ)

มอบหมายงาน
*** เตรียมนำเสนอสื่อคณิตศาสตร์

ทักษะ
***  ทำกิจกรรม
1.นำป้ายชื่อมาติด
2.แสดงตัวว่ามาเรียน
3.นับจำนวนคนมาเรียน

ตารางแสดงการมาเรียน


กลุ่ม
สตอเบอรี่
เชอรี่
แอปเปิ้ล
ลิ้นจี่
สมาชิก
1





2





3





4





5       





จำนวน
5
5
5
4
24

วิธีการสอน

***ใช้การบรรยาย PowerPoint
      ใช้การระดมความคิดเห็น
      ใช้คำถามให้วิเคราะห์
      ใช้เพลงและคำคล้องจอง
   
การประเมิน

สภาพห้องเรียน


- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ต้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนน้อยที่ไม่เรียบร้อย

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 20 กุมภาพันธุ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

ความรู้ที่ได้รับ

*** - รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
       - ทดสอบก่อนเรียน ---> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบ STEM
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสเซอรี่
                                     ----> รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง
     - เลขที่ 16 -18 นำเสนอโทรทัศน์ครู
เลขที่ 16 นางสาว วัชรี  วงศ์สะอาด
เรื่อง  ผลไม้แสนสุข
สรุปได้ว่า  ครูทำกิจกรรมบูรณาการเรื่องผลไม้ โดยการให้เด็กชิมรสผลไม้ ครูเคลื่อนไหวโดยใช้เทคนิคคำคล้องจอง นำคำคล้องจองมาเล่นกับเด็กๆ เช่น จำจี้ผลไม้ เป็นต้น แล้วให้เด็กๆได้เจอสังคม โดยก่อนจะเจอสังคมเด็กๆต้องทำข้กตกลงกับคุณครูเรื่อง การตั้งคำถามในการนำไปถามโดยไหว้ทักทาย/ เรียนรู้สังคม เช่น การให้เด็กลองซื้อผลไม้ในตลาด เพื่อให้เด็กๆเรียนรู้เรื่องรูปทรง ตาชั่ง ขนาด
บูรณาการศาสตร์คือ   สังคม = การพูดคุย
                                  วิทยาศาสตร์ = ชิมรส
                                  ภาษา = การใช้คำถาม  การพูดคุย
                                  คณิตศาสตร์ = รูปทรง ขนาด
                             
เลขที่ 17 นางสาว  เวรุวรรณ  ชูกลิ่น
เรื่อง กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส จังหวัดศรีษเกศ
สรุปได้ว่า  ประสาทสัมผัสที่ 1 กระบอกพิมพ์  ให้เด็กเรียนรู้การมองขนาดของพิมพ์
                 ประสาทสัมผัสที่ 2 ให้นักเรียนดูกระบอกเสียงแล้วให้บอกว่าเสียงนั้นคืออะไร
                 ประสาทสัมผัสที่ 3 ให้นักเรียนสัมผัส แล้วให้บอกถึงความหนาและการยืดหยุ่นของผ้า
                 ประสาทสัมผัสที่ 4 ให้นักเรียนดมกลิ่น แล้วมาบอกถึงกลิ่นที่ได้ดม
                 ประสาทสัมผัสที่ 5 การลิ่มรส เช่น น้ำเชื่อม  น้ำมะนาว เป็นต้น แล้วให้เด็กบอกถึงรสชาติของน้ำนั้นๆ
คณิตศาสตร์ คือ การเรียนรู้ต่างๆเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ไปเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อๆไป
ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำและรับรู้สัมผัสด้วยตนเอง

      - รูปแบบการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ คือ กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ความสำคัญ  ช่วยให้เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตจริงในการแก้ปัญหาได้
การนำไปใช้
* เด็กอยากรู้อะไร  (เด็กเป็นศูนย์กลาง)
* เด็กต้องรู้อะไร(ครูเป็นศูนย์กลาง)
* เด็ก  ต้อง  การ  อยาก  ทำอะไรได้

      - สาระที่ควรเรียนรู้
เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
บุคคล/สถานที่
ธรรมชาติรอบตัว
สิ่งต่างๆรอบตัว

ทักษะ

***-นำเสนอกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สาระตามมาตรฐาน
1.เรื่อง การหยอดบล๊อค ซึ่งสามารถให้เด็กได้ทดสอบ หรือ ลงมือกระทำด้วยตนเอง
2.เรื่อง เครื่องชั่งสองแขน ซึ่งเด็กก็จะได้เรื่องของน้ำหนัก
3.เรื่องการต่อภาพเหมือน ซึ่งเด็กๆก็จะได้คณิตศาสตร์เรื่องของรูปทรง
    - นำป้ายชื่อมาติดหน้าห้องทีละคน เพื่อเรียนรู้เรื่องของเวลา การจัดหมวดหมู่ และการเรียงลำดับ
    -ทำกิจกรรมแตกแผนความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดกิจกรรมในหัวข้อที่แต่ละคนเลือกเอง แล้วแตกแผนออกไปตามหัวข้อย่อยๆ

                 ชนิด     --->     ประโยชน์    --->        ข้อควรระวัง 
เสื้อผ้า   
              ลักษณะ  --->   ส่วนประกอบ  --->    การดูแลรักษา


วิธีการสอน

*** ใช้การบรรยาย PowerPoint
       ใช้การระดมความคิด และอภิปราย
       ใช้เพลง
       ใช้คำคล้องจอง

การประเมิน

สภาพห้องเรียน
- สะอาด อุปกรณ์การเรียนการสอนครบ พร้อมใช้งาน บรรยากาศดี น่าเรียน

ตัวเอง
- ตั้งใจเรียน มาเรียนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ขณะที่เรียน

เพื่อนในห้อง
- ทุกคนส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน แต่มีเพียงบางคนเท่านั้นที่คุย ไม่ฟังอาจารย์ แต่ทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น ระดมความคิด และตอบคำถาม

อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์แต่งกายสุภาพ อาจารย์ใช้วิธีการสอนที่เรียนแล้วไม่ง่วง ให้เด็กลงมื่อปฎิบัติเอง ไม่ใช่แค่นั่งฟัง นักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วม


*** ถ้าเด็กไม่ชอบคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จะมีผลกระทบอย่างไรเกิดขึ้น ?
ผลกระทบ เด็กจะไม่รับรู้และไม่เปิดรับคณิตศาสตร์เข้ามาเรียนรู้ ครูผู้สอนจึงควรใช้เทคนิคต่างๆที่น่าสนใจทำให้เด็กรู้ว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยาก ใช้สื่อและเทคนิคการสอนกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์อีกครั้ง