บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
ความรู้ที่ได้รับ
*** คณิตศาสตร์ : สาระมาตรฐานการเรียนรู้
นำเสนอบทความ เลขที่ 10-12
เลขที่ 11 นางสาว ชนากานต์ แสนสุข
เรื่อง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จาก นิตยา ประพฤติกิต
สรุปได้ว่า การให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กเข้าใจเหตุผล สามารถกระทำและเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตั้งแต่เด็ก และต้องผ่านกระบวนการต่างๆ
1.ทดสอบก่อนเรียน
>> มาตรฐานคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
มาตรฐาน คือ การวัด การประเมิน หรือเกณฑ์
ประโยชน์ คือ เพื่อการแข่งขันที่มีคุณภาพที่ดี
>> สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
ได้แก่ การนับเลข บวก ลบ คูณ หาร การซื้อของในตลาด
2.การใช้เพลงในการเรียนรู้คณิตศาสตร์และคำศัพท์ในชีวิตประจำวัน
เช่น เพลง : จัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง (ซ้ำ)***
เพลง : ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้าย(ขวา)อยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ (ซ้ำ)***
3.กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
>> เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
เด็กเรียนรู้เนื้อหาคณิตศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆที่เป็นพื้นฐานในชั้นประถมศึกษา
4. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวน
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
5. คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1. มีความคิดเชิงคุณภาพ
- เข้าใจหลักการนับ
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรีบยเทียบ
- เปรีบยเทียบ
- การรวมและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและค่าที่ใช้บอกช่วงเวลา (เช้า/สาย/บ่าย/เย็น)
3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติ (รูปทรงสามเหลี่ยม) และรูปเรขาคณิตสองมิติ (รูปสามเหลี่ยม)
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย เช่น การมาเรียน/ไม่มาเรียน
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
- การบวก ลบ คูณ หาร อย่างง่าย
6. สาระมาตรฐานการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ - - > ทุกคนต้องเข้าใจการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน
สาระที่ 2 การวัด - - > เข้าใจพื้นฐานของการวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต - - > รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- - > รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 พีชคณิต - - > เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น - - > รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอแบบแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ - - > การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร และการนำเสนอเชื่อมโยงในการจัดกิจกรรม เช่น เชื่อมจำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต
ทักษะ
*** ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
วิธีการสอน
*** 1. ใช้การบรรยาย power point
2. ใช้เพลงคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสอดแทรกการสอน
3. ใช้การตั้งคำถาม-ตอบ ระดมความคิด
ประเมิน
สภาพห้องเรียน
- ห้องเรียนสะอาด โต๊ะเก้าอี้จัดเรียบร้อย นั่งเรียนสบายไม่อึดอัด
ตัวเอง
- ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์ ระดมความคิดในการหาคำตอบ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดบันทึกขณะที่เรียน
เพื่อนในห้องเรียน
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีบางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลา คุยกันขณะที่ครูสอน ให้ความร่วมมือในการระดมความคิด ตอบคำถามครูผู้สอนเป็นอย่างดี
อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่นำเพลงมาบูรณาการในการเรียนการสอน ใช้การสอดแทรกคุณธรรม แต่งกายสุภาพ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายในการเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น