วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน ศุกร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

ความรู้ที่ได้รับ

***  - ได้เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตสาสตร์ ซึ่งได้แก่ นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย บทบาทสมมติ และแผนภูมิภาพ เป็นต้น

ตัวอย่าง เทคนิคการใช้คำคล้องจอง

ไข่ 2 ฟอง กลอง 2 ใบ ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา สองอย่างหมดเลย

        - เลขที่ 13-15 นำเสนองานวิจัย

         เลขที่ 14 นางสาว ศุทธินี  โนนริบูรณ์ 
เรื่อง ผลการใช้สื่อในการท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ด้านการจัดประเภท 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีพ.ศ. 2552
สรุปได้ว่า  เขาได้ทดสอบเรื่องการจัดประเภททางคณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี ที่บ้านเจียด จังหวัดอุบลราชธานี โดยที่เขาใช้สื่อท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ในการจัดกิจกรรมให้เด็กทำ พบว่าเด็กทำแบบทดสอบ ได้มากกว่าตอนก่อนที่จะจัดกิจกรรมที่ใช้สื่อ แสดงว่า เมื่อใช้สื่อในการจัดกิจกรรมทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องการจัดประเภททางคณิตศาสตร์

         เลขที่ 15 นางสาว ภัทรวรรณ  หนูแก้ว
เรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
เขียนโดย นางสาว ทัศดาว เทียมงาม  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีพ.ศ.2549
สรุปได้ว่า  เขาจัดกิจกรรมเรียนปนเล่น โดยใช้การเล่นแบบไทยในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยทดสอบกับเด็กอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน ทดสอบเรื่องการนับ จำนวน รู้จักตัวเลข จำนวนคู่-คี่ โดยใช้หลักการประเมินคือ ขั้นที่ 1 ศึกษาภูมิหลังของเด็ก
                  ขั้นที่ 2 กำหนดวัตถุประสงค์
                  ขั้นที่ 3 จัดวางแผนประสบการณ์
                  ขั้นที่ 4 เลือกสื่อ
  
ผลการทดสอบ พบว่าครูควรจัดกิจกรรมที่ง่าย - - - > ยาก จากรูปธรรม - - - > นามธรรม เพื่อฝึกทักษะการคิดที่มีเหตุผล จัดให้สอดคล้องกับวัยเพื่อพัฒนาการนับ ตัวเลข จำนวนคู่-คี่ การเปียบเทียบ ของเด็ก

ทักษะ

*** - นำเสนอเทคนิคการจัดประสบการณืคณิตศาสตร์ ซึ่งเพื่อนๆได้นำเสนอมาทั้งหมด 5 เทคนิค
คือ 1. การเอาตุ๊กตาไปวางไว้ที่ตะกร้าเวลาเที่ยง เพื่อไปรับประทานอาหาร หลังจากรับระทานอาหารเสร็จก็มาหยิบตุ๊กตาของตัวเองกลับมาอยู่กับตัว ซึ่งเทคนิคนี้เป็นการสอนคณิตศาสตร์เรื่องของ เวลา
      2.สร้างสื่อการสอนเกี่ยวกับเรื่องของเงิน โดยการทำเงินสมมติขึ้นมา แล้วให้เด็กนำเงินนั้นไปซื้อของตามที่เด็กต้องการอยากจะซื้อ ซึ่งเป็นการสอนคณิตศาสตร์เรื่อง บทบาทสมมติ
      3.จัดทำป้ายชื่อของเด็กแต่ละแล้วนำไปติดเป็นรูปตัวยูโดยเว้นระยะห่างเท่าๆกัน เพื่อให้เด็กรู้จักการกะระยะ การเว้นระยะห่าง และตำแหน่งของตนเอง
      4.ทำบล๊อคสี่เหลี่ยมที่สามารถถอดออกแล้วนำมาประกอบได้ ให้เด็กนำชิ้นส่วนของบล๊อคมาประกอบกันให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นการสอนคณิตศาสตร์เรื่อง รูปทรงเรขาคณิต

      - ช่วยกันตัดกระดาษขนาด 1 นิ้ว* 1 นิ้ว คนละ 10 แผ่น แล้วนำมาวางต่อกันเป็นรูปทรงต่างๆ โดยห้ามให้แต่ละรูปซ้ำกัน ซึ่งแต่ละคนจะคิดออกมาไม่เหมือนกันและได้ไม่เท่ากัน

      - ช่วยกันระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง

ไข่ 2 ฟอง กลอง 2 ใบ ไก่ 2 ตัว วัว 2 เขา เกาเหลา 2 ชาม นับไปนับมา สองอย่างหมดเลย

วิธีการสอน

*** - ใช้การบรรยาย PowerPoint
       - ใช้การระดมความคิด
       - ใช้เพลง คำคล้องจอง
       - ใช้การถาม-ตอบ แสดงความคิดเห็น

ประเมิน

           สภาพห้องเรียน
         - ห้องเรียนสะอาด อุปกรณ์ภายในห้องเรียนครบ ใช้งานได้สะดวก แอร์เย็น 
           
           ตัวเอง
         - ตั้งใจเรียน จดบันทึกกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครู

          เพื่อนในห้องเรียน
        - เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันระดมความคิดในการแต่งคำคล้องจอง มีบางคนที่แต่งกายผิดระเบียบ ซึ่งมีเหตุผลมารองรับ

          อาจารย์ผู้สอน
        - อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษากล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น สอนโดยใช้เทคนิคหลากหลายทำให้การเรียนคณิตศาสตร์สนุก ไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่าย 




วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวันศุกร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

ความรู้ที่ได้รับ

*** คณิตศาสตร์ : สาระมาตรฐานการเรียนรู้

       นำเสนอบทความ เลขที่ 10-12
เลขที่ 11 นางสาว ชนากานต์ แสนสุข 
       เรื่อง การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   จาก นิตยา ประพฤติกิต
สรุปได้ว่า การให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กเข้าใจเหตุผล สามารถกระทำและเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตั้งแต่เด็ก และต้องผ่านกระบวนการต่างๆ

       1.ทดสอบก่อนเรียน
         >> มาตรฐานคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
มาตรฐาน คือ การวัด การประเมิน หรือเกณฑ์ 
ประโยชน์ คือ เพื่อการแข่งขันที่มีคุณภาพที่ดี

        >> สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
ได้แก่ การนับเลข บวก ลบ คูณ หาร การซื้อของในตลาด  

        2.การใช้เพลงในการเรียนรู้คณิตศาสตร์และคำศัพท์ในชีวิตประจำวัน
เช่น                    เพลง : จัดแถว
        สองมือเราชูตรง     แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า    แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง (ซ้ำ)***

                          เพลง : ซ้าย-ขวา
        ยืนให้ตัวตรง            ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้าย(ขวา)อยู่ไหน             หันตัวไปทางนั้นแหละ (ซ้ำ)***

        3.กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
     >> เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
 เด็กเรียนรู้เนื้อหาคณิตศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆที่เป็นพื้นฐานในชั้นประถมศึกษา

       4. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 จำนวน
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

       5. คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1. มีความคิดเชิงคุณภาพ
  - เข้าใจหลักการนับ 
  - รู้ค่าของจำนวน
  - เปรีบยเทียบ
  - การรวมและการแยกกลุ่ม

2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน เวลา การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ
  - รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
  - เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและค่าที่ใช้บอกช่วงเวลา (เช้า/สาย/บ่าย/เย็น)

3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
  - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  - รูปเรขาคณิตสามมิติ (รูปทรงสามเหลี่ยม) และรูปเรขาคณิตสองมิติ (รูปสามเหลี่ยม)

4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง 

5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย เช่น การมาเรียน/ไม่มาเรียน

6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
   - การบวก ลบ คูณ หาร อย่างง่าย

    6. สาระมาตรฐานการเรียนรู้สู่ชั้นเรียน
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ  - - > ทุกคนต้องเข้าใจการใช้จำนวนในชีวิตประจำวัน
สาระที่ 2 การวัด        - - > เข้าใจพื้นฐานของการวัด 
สาระที่ 3 เรขาคณิต   - - > รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
                                 - - > รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 พีชคณิต     - - > เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  - - > รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอแบบแผนภูมิอย่างง่าย
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  - - > การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร และการนำเสนอเชื่อมโยงในการจัดกิจกรรม เช่น เชื่อมจำนวน การวัด เรขาคณิต พีชคณิต

ทักษะ

*** ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

วิธีการสอน

*** 1. ใช้การบรรยาย power point
       2. ใช้เพลงคณิตสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสอดแทรกการสอน
       3. ใช้การตั้งคำถาม-ตอบ ระดมความคิด

ประเมิน

      สภาพห้องเรียน
 -   ห้องเรียนสะอาด โต๊ะเก้าอี้จัดเรียบร้อย นั่งเรียนสบายไม่อึดอัด

      ตัวเอง
 -   ตั้งใจเรียน ตอบคำถามอาจารย์ ระดมความคิดในการหาคำตอบ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังและจดบันทึกขณะที่เรียน

      เพื่อนในห้องเรียน
 -    เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีบางคนเข้าเรียนไม่ตรงเวลา คุยกันขณะที่ครูสอน ให้ความร่วมมือในการระดมความคิด ตอบคำถามครูผู้สอนเป็นอย่างดี

      อาจารย์ผู้สอน
 -    อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่นำเพลงมาบูรณาการในการเรียนการสอน ใช้การสอดแทรกคุณธรรม แต่งกายสุภาพ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายในการเรียน