วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกประจำวัน พุธ ที่ 22 เมษายน 2558


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

ความรู้ที่ได้รับ

*** นำเสนอการสอนเป็นกลุ่มตามแผน
เรื่อง ดอกไม้

วิธีการสอน 
                   ให้เด็กร้องเพลงดอกไม้ ถามถึงชนิดของดอกไม้ในเพลง ครูเขียนแม๊ป ต่อมาถามความรู้เดิมของเด็กว่ารู้จักดอกไม้ชนิดอื่นหรือไม่นอกจากในเพลง หลังจากนั้นให้เด็กนับจำนวนดอกไม้ทั้งหมดพร้อมบอกชื่อและแยกประเภท โดยให้แยกดอกกุหลาบออกจากกลุ่มที่ไม่ใช่ดอกกุหลาบ ใช้การจับคู่ 1 ต่อ 1               ผลปรากฎว่าดอกกุหลาบหมดก่อนแสดงว่าดอกกุหลาบน้อยกว่าที่ไม่ใช่ดอกกุหลาบ หลังจากนั้นครูก็ทบทวนกับเด็กว่า วันนี้เราเรียนเรื่อง ดอกไม้ เด็กได้รู้จักชนิดของดอกไม้ ได้แก่ ดอกมะลิ  ดอกกุหลาบ ดอกทานตะวัน  และดอกพุทธซ้อน

                                                               เพลง ดอกไม้

                                                          ดอกไม้มีนานาพันธุ์

                                                      มะลิสีขาว กุหลาบสีแดง

                                                      ทานตะวันนั้นมีสีเหลือง

                                                      เด็กๆ ดูซิน่าชวนชมเอยๆ


*** ให้เพื่อน 1 คน ออกมาทดลองสอน คือ นางสาว เปมิกา  ชุติมาสวรรค์ ซึ่งครูให้ขนมมา 1 กล่อง แล้วให้เพื่อนสอนเรื่องคณิตศาสตร์เกี่ยวกับขนมในกล่อง  ซึ่งเพื่อนก็ได้ทำการสอนโดยใช้คำถาม ถามว่า " เด็กๆเห็นขนมในกล่องนี้มีกี่ชิ้นค่ะ " จากนั้นเด็กตอบกลับมา เพื่อนก็พิสูจน์โดยการนับขนมในกล่องออกมาทีละ 1 ชิ้น ซึ่งเพื่อนก็ได้วางขนมเรียงต่อกันแถวละ 10 ชิ้น ซึ่งการสอนแบบนี้ทำให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับ และรู้จักเลขฐานสิบอีกด้วยจากนั้นก็สรุปว่ามีขนมอยู่ทั้งหมดกี่ชิ้นพร้อมกับเสริมแรงโดยให้รางวัลเด็กๆทุกคนด้วยการกินขนมกล่องนั้น

*** วิธีการประเมิน
       - การสังเกต
       - การสัมภาษณ์
       - การสนทนา
       - การทดสอบ
       - ผลงาน
ซึ่งวิธีการประเมินที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย คือ ผลงานและการสนทนา

 ***เทคนิคการสอนเด็กให้เรียนรู้แบบต่อเนื่อง คือ การสารสัมพันธ์กับผู้ปกครอง


ทักษะ

***   1. ร่วมวิเคราะห์ข้อคำถามกับเพื่อน
         2. เพิ่มเติมเนื้อหาเพลง ดอกไม้ และร่วมร้องเพลง
         3. คิดวิเคราะห์ข้อคำคามของอาจารย์ผู้สอน
         4. แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ได้จากการเรียน

วิธีการสอน

***ใช้การยกตัวอย่าง
       การแนะนำเพิ่มเติม
       ใช้คำถาม
       ใช้การระดมความคิด
       ใช้เพลง

ประเมิน

สภาพห้องเรียน

- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน ให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆทุกคน

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ช่วยกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการสอนของเพื่อนๆในการสอนเป็นกลุ่ม

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย




วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

ประจำวัน พุธ ที่ 8 เมษายน 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

ความรู้ที่ได้รับ
*-* นำเสนอการสอนตามการเขียนแผนเป็นกลุ่ม

*-* เพลง
         1.เพลง กล้วย
กล้วยคือผลไม้ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วยกินกล้วยมีวิตามิน
กล้วยส้มกล้วยหอมกล้วยไข่
ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า
ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า
ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย

        2.เพลง  แตงโม
แตงโม แตงโม แตงโม
โอโฮ้ แตงโม ลูกใหญ่
เนื้อแดง เรียกว่า จินตรา
เนื้อเหลืองนี่หนา เรียกว่า น้ำผึ้ง

       3. เพลง ไก่กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ ไก่ ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่ชนเดินมาแล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ ไก่ ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่แจ๊เดินมา แล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก

       4. เพลง สุนัข
บ๊อกๆๆๆๆ บ๊อกเป็นเสียงของน้องหมา

เด็กๆรู้มั้ยหน้าตา (ซ้ำ) ของน้องหมานั้นน่ารักดี

 หมามีหลายชนิด   ไหนลองคิดๆช่วยกันสิ

เด็กๆช่วยตอบครูที (ซ้ำ) ชนิดน้องหมานี้นั้นมีอะไร

เช่นโกเด้น บางแก้ว ชิวาๆ พุดเดิ้น บรู๊ๆ

ทักษะ
*-* นำเสนอการสอนตามแผนการสอนที่เขียนไว้สัปดาห์ที่แล้ว
กลุ่มที่ 1 เรื่อง กล้วย
กลุ่มที่ 2 เรื่อง แตงโม
กลุ่มที่ 3 เรื่อง สุนัข
กลุ่มที่ 4 เรื่อง ไก่

- - - >  กลุ่มดิฉันได้หน่วย สัตว์ เรื่อง สุนัข

วิธีการสอน
ขั้นที่ 1 ร้องเพลงสุนัข
ขั้นที่ 2 ถามความรู้เดิมว่าเด็กรู้จักสุนัขชนิดอะไรบ้าง
ขั้นที่ 3 ถามในเนื้อเพลงมีสุนัขชนิดไหนบ้าง
ขั้นที่ 4 นับจำนวนชนิดของสุนัข
ขั้นที่ 5 แยกประเภทของสุนัขว่าชนิดไหนมากกว่า
จากนั้น....ให้เด็กหยิบจากกล่อง 1 ต่อ 1 เพื่ออกมานับจำนวน ต่อมาครูและนักเรียนร้องเพลงสุนัขร่วมกันอีกครั้ง
















*-* เลขที่ 28 และ 12 นำเสนอ โทรทัศน์ครูและบทความ

      เลขที่  28 นางสาว ยุภา  ธรรมโคตร
นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ฝึกคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
สรุปได้ว่า   การฝึกคิดสร้างสรรค์ ฝึกให้เด็กเกิดจิตนาการอย่างในวีดีโอ คุณครูให้นักเรียนไปหยิบก้อนหินมาคนละ  1 ก้อน และให้เด็กๆ นำอุปกรณ์ มีกระดาษ กรรไกร ดินน้ำมัน สี กาว สำหรับใช้ตกแต่งก้อนหิน โดยเด็กสามารถตกแต่งเป็นแบบไหนก็ได้ตามจิตนาการเด็กเอง ซึ่งเชื่อมโยงในเรื่องของคณิตศาสตร์ คือเรื่องของจำนวน ของก้อนหิน ขนาดกระดาษ การปั้มดินน้ำมัน การกะกาวในการทา

     เลขที่ 12  นางสาว เจนจิรา  เทียมนิล
นำเสนอบทความ  เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า  การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เราขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเลขาคณิตสามมิติและรูปเลขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์  ตรงตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


วิธีการสอน
*-* ใช้คำถามให้วิเคราะห์
      ใช้เพลงและคำคล้องจอง
      ให้คำแนะนำกับนักศึกษาในการนำเสนอการสอนตามเผนของนักศึกษา

ประเมิน

สภาพห้องเรียน
- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง
- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการจัดกิจกรรมการสอน ช่วยเพื่อนสอนเรื่องหน่วยของ สุนัข และร่วมร้องเพลงกับพื่อนๆ

เพื่อนในห้อง
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนน้อยที่ไม่เรียบร้อย เพื่อนๆเตรียมการสอนมาดี มีการเตรียมสื่อการสอนมา แต่ละกลุ่มมีเทคนิคการสอนที่แตกต่าง ลีลาการสอนก็หลาหลายมีดี มีปรับปรุงแก้ไขบ้างเป็นบางกลุ่ม และได้คำแนะนำจากครูผู้สอน

อาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย อาจารย์ให้คำแนะนำในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่น่าสนใจ สอนตามแผนอย่าสอนเกินแผน ใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก



ประจำวัน ศุกร์ ที่ 3 เมษายน 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

ความรู้ที่ได้รับ

***กิจกรรมตัวอย่าง

- - - > จากการดูภาพสัตว์พบว่า สัตว์ทั้งหมด 6 ตัว เป็นสัตว์ 4 ขา ทั้งหมด

*** ครูเขียนคำบนกระดาน ดังนี้
ม้าลาย     2   ตัว
กระต่าย   1   ตัว
ไก่           3   ตัว
- - - > มีขารวมกันทั้งหมดกี่ขา ?
 
นักเรียนจะเกิดกระบวนการคิด
ม้าลาย     มี    4    ขา  =  4 + 4   =  8
กระต่าย    มี    4    ขา =  4
ไก่             มี   2    ขา  = 2 + 2 + 2 = 6
จะได้        8 + 4 + 6 = 18
ตอบ  มีขารวมกันทั้งหมด 18 ขา
- - - > จากคำบนกระดานพบว่าครูต้องการสอนเกี่ยวกับตัวเลข จำนวนสัตว์ จำนวนขาของสัตว์
และเลขฐานสิบ

*** การออกแบบกิจกรรม
ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
1.ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2.วิเคราะห์เนื้อหา
3.ศึกษาประสบการณืสำคัญ
4.บูรณาการสาระคณิตศาสตร์
5.ออกแบบกิจกรรม

ทักษะ
***เก็บตก เลขที่ 4, 5, 6, และ 25 นำเสนอ
              เลขที่ 25 นางสาว สุจิตรา  มาวงษ์
นำเสนอ โทรทัศน์ครู เรื่อง ท๊อคอเบาว์คิดส์ สอนคณิตศาสตร์อ.1 ครูจอย
สรุปได้ว่า  อนุบาล 1 ต้องสอนผ่านการเล่น การมีสิ่งที่เขาสนใจสิ่งที่ดึงดูดเขา เล่น  รูปทรง  สี
การสอนต้องเป็นการสอนแบบถามแล้วให้เขาตอบมีส่วนร่วมเสมอ ให้เขาได้จับได้สำผัส
และต้องยกตัวอย่างให้เขาเห็นอย่างชัดเจน  เช่น การจะสอนเลข 1  ต้องให้เขาเห็นเลข 1 ว่า
เป็นรูปทรงแบบไหน  ให้จับสำผัสเป็นรูปทรงยังไง  สอนตัวเลขแตาละตัวต้องให้เวลา 1  อาทิตย์เพื่อให้เด็กจำได้อย่างแม่นยำ และการสอนต้องแซกด้วยเกมเพื่อให้เด็กสนใจมากขึ้น

             เลขที่ 4 นางสาว เปมิกา  ชุติมาสวรรค์
นำเสนอวิจัย  เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่
สรุปได้ว่า
       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัยอายุ ระหว่าง 4-5 ปี  ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนพระแม่มารี กรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจากเลือกแบบเจาะจง จากห้องเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสรี่

  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    1. แผนการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ตามแนวมอนเตสเซอรี่
    2. แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

สรุปผลการวิจัย
      ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่อยู่ในระดับดี ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วยด้านการจำแนก การเรียงลำดับ และการนับ

              เลขที่ 5 นางสาว รัชดา  เทพเรียน
นำเสนอวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สรุปได้ว่า จากผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงกับการจัดประสบการณ์ตามคู่มือ
ผู้วิจัยเก็บข้อมูลกนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนกาญจนบุรี ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย ที่ระดับ0.01
     โดยเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองที่จัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ควบคุมที่จัดประสบการณ์ตามคู่มือครูทั้งนี้อาจเพราะเด็ก ชอบเล่นเกม ชอบร้องเพลงอยู่เเล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัว เช่นการเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุก ทำให้เ็กมีความสุข การเรียนปนเล่น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจเคร่งเครียดจนเกินไป มีเเบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มีความสุขในการเรียนรู้คณิตศาสตร์

              เลขที่ 6 นางสาว กมลรัตน์  มาลัย
นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ
สรุปได้ว่า  ทำการวิจัยกับเด็กอนุบาลชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3-4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่1
ภาคเรียน ที่2 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ สังกัดการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร
       ซึ่งกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรม
ตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ซึ่งขนมอบทั้ง4ชนิดนี้ มีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาส
เลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การโรย การเขียน ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ดังนี้

     1.ด้านการสังเกตและการจำแนก   ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้
เด็กได้เรียนรู้การสังเกตและการจำแนกและได้ลงมือปฏิบัติกับอุปกรณ์และวัตถุดิบจริง โดยครูได้สอด
แทรกทักษะการสังเกตและการจำแนกในกิจกรรม เช่น คุกกี้แฟนซี โดยการให้เด็กสังเกตผลไม้ที่ทำ
กิจกรรมและให้สังเกตวัตถุดิบที่นำมาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

    2.ด้านการเปรียบเทียบ  การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้
ทักษะการเปรียบเทียบ จากวัตถุดิบที่ครูนำมาทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมขาไก่สร้างสรรค์ เด็กได้สังเกต
ขนมขาไก่ที่มีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและรูปทรงที่แตกต่าง

     3.ด้านการจัดหมวดหมู่  ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการจัดหมวดหมู่จากวัตถุดิบที่ครูนำมา
ทำกิจกรรม เช่น ในการจัดกิจกรรม พวงมาลัยหัวจุก เด็กได้เรียนรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่จากกิจกรรมนี้ โดย
การจัดหมวดหมู่ตามสีและรูปทรงของขนม

เขียนออกมาเป็นมายเเมบ ตามหัวข้อ ในเรื่อง ชนิด ลักษณะ การดูแลรักษา ประโยขน์ ข้อควรระวัง

แตกย่อยๆๆออกไปตามหัวข้อ โดยกลุ่มดิฉันได้เรื่องสุนัข

***เขียนแผนกิจกรรมประสบการณ์ เรื่อง ผลไม้/สัตว์
โดยใช้การออกแบบกิจกรรมเขียนมายแม๊ปตามหัวข้อดังนี้


กลุ่มดิฉันได้ หน่วย - สัตว์
แบ่งกลุ่ม 5 คน 4 กลุ่ม
กลุ่มที่  1  สุนัข
กลุ่มที่  2  แตงโม
กลุ่มที่  3 ไก่
กลุ่มที่  4  กล้วย

วิธีการสอน

***ใช้การบรรยาย PowerPoint
      ใช้การระดมความคิดเห็น
      ใช้คำถามให้วิเคราะห์
      ใช้เพลงและคำคล้องจอง

ประเมิน

สภาพห้องเรียน

- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ต้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีส่วนน้อยที่ไม่เรียบร้อย

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย


ประจำวัน พุธ ที่ 25 มีนาคม 2558


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


ความรู้ที่ได้รับ
*** นำเสนอนิทาน คำคล้องจอง และปริศนาคำทาย ตามสาระที่ตนเองได้รับมอบหมาย
มีทั้งหมด  6 สาระ สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
                             สาระที่ 2 การวัด
                             สาระที่ 3 เรขาคณิต
                             สาระที่ 4 พีชคณิต
                             สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                             สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ทักษะ
*** เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนิทาน คำคล้องจอง และปริศนาคำทาย  ตามสาระที่ตนเองได้รับมอบหมาย

- - - > กลุ่มที่ 1 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
        *นิทาน เรื่อง   แมวน้อย



       *คำคล้องจอง  เรื่อง แมวน้อย               นับเลข


   
       *ปริศนาคำทาย เรื่อง ฉันคือใคร?





- - - > กลุ่มที่ 2 สาระที่ 2 การวัด
*นิทาน
*คำคล้องจอง
*ปริศนาคำทาย

- - - > กลุ่มที่ 3 สาระที่ 3 เรขาคณิต
 *นิทาน เรื่อง รูปทรงหรรษา

                       *คำคล้องจอง

     ลูกวัวยืนอยู่ใกล้       ฟางกองใหญ่ริมท้องนา

    แม่วัวเฝ้าห่วงหา        คอยมองตามมิห่างไกล

     ลูกหมาวิ่งมุ่งมา          อยู่ไม่ห่างไกลออกไป

ลูกวัวเห็นแสนตกใจ        วิ่งหลบใต้ท้องแม่วัว

*ปริศนาคำทาย

- - - > กลุ่มที่ 4 สาระที่ 4 พีชคณิต
*นิทาน
*คำคล้องจอง
*ปริศนาคำทาย

- - - > กลุ่มที่ 5 สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
*นิทาน
*คำคล้องจอง
*ปริศนาคำทาย

- - - > กลุ่มที่ 6 สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
*นิทาน
*คำคล้องจอง
*ปริศนาคำทาย


วิธีการสอน

***ใช้การระดมความคิดเห็น
      ใช้คำถามให้วิเคราะห์
      ใช้เพลงและคำคล้องจอง นิทาน


ประเมิน

สภาพห้องเรียน


- สะอาด ห้องเรียนพร้อมใช้ทำการเรียนการสอน อุปกรณ์พร้อมใช้ บรรยากาศถ่ายเท

ตัวเอง

- ตั้งใจเรียน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจจดบันทึกการเรียนการสอน นำเสนองานได้เรียบร้อย

เพื่อนในห้อง

- เพื่อนๆตั้งใจเรียน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม

อาจารย์ผู้สอน

- อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา สอนเข้าใจง่าย ไม่เครียด มีคำแนะนำให้กับนักศึกษาและเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหาย